บรรณาธิการ

ระยะ นี้กระแสการค้าเสรี ค่อนข้างแรง ไม่ว่าทำอะไรก็มุ่งเน้นว่าเพื่อให้เป็นไปตามระบบการค้าเสรี แต่คำว่า"เสรี" มิได้หมายความว่า "เท่าเทียม" หากให้ชาวบ้านทั่วไปเปิดร้านค้าแข่งกับร้านค้าที่มีชื่อต่างประเทส ภายใต้สภาวะ และ บรรยากาศแบบเดียวกัน คงนึกภาพออกว่าไม่นานก็คงต้องพับฐาน

"การค้า เสรี"จึงเป็นเพียงคำที่ผู้ครอบครองอำนาจการต่อรองที่เหนือกว่าใช้เพื่อปิด กั้นคู่แข่งรายใหม่ๆเข้ามาในตลาดที่ตนเองควบคุมอยู่ ดังนั้นการค้าเสรีต้องประกอบด้วยเสรีภาพในการทำมาค้าขายโดยมีความเท่าเทียม กัน เหมือนนักกีฬาที่ต้องมีแต้มต่อให้กับคู่แข่งที่อ่อนด้อยประสพการณ์กว่า มิใช่เอาผู้ที่อ่อนกำลังกว่าเข้าไปสู้กับผู้ที่แข็งแกร่งกว่า เหมือนว่าให้ไปตาย ถ้าหากจะให้มีการค้าที่ยั่งยืน ต้องอยู่บนความเท่าเทียม

นอกจาก นี้ ผู้บริโภคควรต้องรู้จักเท่าทันกับกระแสการค้าขายในยุคทุนนิยมรุ่งเรือง เพราะปัจจุบันการบริโภคสินค้าบนพื้นฐานแห่งความจำเป็นเพื่อการดำรงชีพอย่าง ปกติสุข(Need) ถูกกระแสแห่งทุนนิยมผ่านทางโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ชักจูงให้กลายเป็นการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการ(Want) มากขึ้น

กรณี อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งหลาย ที่ชื่อของมันก็บอกว่าเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่บริโภคเพื่อเสริมอาหาร ในกรณีที่ทานอาหารตามปกติไม่เพียงพอ ปัจจุบันกลายเป็นส่วนสำคัญของผู้บริโภคที่ควรจะทาน ไปพร้อมกับการบริโภคอาหารตามปกติ นอกจากนี้ยังไปไกลขนาดต้องทานเพื่อความสวยงาม หรือในกรณีโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่แนวคิดเพื่อเสริมการใช้งานโทรศัพท์พื้นฐาน ปัจจุบันไปไกลขนาดว่าขาดโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วชีวิตจะขาดไปด้วย ผู้บริโภคควรรู้ตัวเองว่า เราต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่กับสิ่งที่เราต้องการ ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่ากับเงินที่เราต้องจ่ายออกไปเพื่อแลกมากับคำว่า"ทันสมัย นิยม" โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งค่าครองชีพที่สูงอย่างปัจจุบันนี้

เราต้อง มั่นคอยสำรวจว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็นในชีวิต ที่ต้องบริโภคเพื่อการมีชีวิตอย่างปกติสุข อย่างมองแค่เพียงว่าต้องบริโภคตามสมัยนิยม เราต้องยอมตกกระแสที่ถูกกล่าวอ้างผ่านทางสื่อต่างๆ เพื่อดึงเงินจากกระเป๋าของเราไปบำรุงบำเรอความสุขของนักการตลาดเสรีนิยม ที่มุ่งสรรหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อล่อใจให้ผู้บริโภคที่รู้ไม่เท่าทันเหลี่ยมคูทางการค้า ต้องตกเป็นเหยื่อโดยกล่าวว่าเป็นกระแสนินม ทันสมัย โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กำหนดว่าอะไรทันสมัย อะไรไม่ทันสมัย ต้องมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ราคาแพงๆ มีระบบที่หลากหลาย ซึ่งยัดเยียดว่าจำเป็นแก่ผู้บริโภค แล้วโหมกระแสผ่านการโฆษณาว่าดี ต่อผู้บริโภค

รัฐควร ส่งเสริมกิจกรรมที่เพื่มคุณค่าแห่งความเป็นพลเมืองที่ดี ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสามารถที่จะแข่งขันกันประเทศอื่นๆ ไม่มุ่งเน้นการเห็นแก่กำไรของตนเองมากไปกว่าความรักชุมชนของตนเอง ไม่ส่งเสริมการประกอบกิจการใดๆ ที่บั่นทอนสิ่งใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เปิดโอกาส ให้ทุกคนมีโอกาสเข้าแข่งขันอย่างเท่าเทียม เสรี ไม่ปล่อยให้กิจกรรมใดๆ ครอบงำตลาดของผู้บริโภคเกินกว่า 49 เปอร์เซ็นต์ บางครั้งรัฐต้องเข้าไปจัดการหากมีการครอบงำตลาดมากเกินไปจนเห็นว่าอาจทำให้ เกิดการปิดกั้นคู่แข่งรายใหม่ๆ เช่นห้ามเปิดกิจการโดยเจ้าของเดียวกัน ในกิจการประภทเดียวกันรวมแล้วเกินกว่า 49 เปอร์เซ็นต์ของ ตลาดในกิจการประเภทนั้นๆ ไม่ว่ากิจการนั้นๆ จะดำเนินการโดยรัฐเองก็ตาม รัฐต้องยอมรับว่ากิจการบางอย่างต้องมีเพื่อบริการชุมชน โดยไม่มุ่งหวังเพื่อการค้ากำไร เช่น การบริการขนส่งมวลชนสาธารณะพื้นฐาน เพื่อให้โอกาสแก่พลเมือง ในการนำส่วนต่างไปใช้เพื่อเพิ่มอำนาจในการแข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศ รัฐต้องส่งเสริมนโยบายให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ มีผลประโยชน์ร่วมในกิจกรรมใดๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตพื้นฐานของประชาชน เช่นสถาบันการเงิน พลังงาน การสื่อสาร การขนส่ง การสาธารณสุข สินค้าอุปโภคบริโภค การศึกษา ฯลฯ โดยอาจจัดตั้งในรูปของสหกรณ์ มากกว่าที่จะให้มีการแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน

ที่ กล่าวมา มิได้มุ่งหวังจะให้ รัฐเป็นประดุจผู้วิเศษดลบรรดาลให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น แต่การพัฒนาโดยมุ่งเน้นความเจริญด้านวัตถุ นำหน้าความรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมที่มุ่งเน้นความเป็นมนุษย์ที่ดี มีแต่จะทำให้ประชาชนที่ขาดโอกาสในการอยู่รอดจากกระแสค้าเสรี ก็ต้องจำใจอยู่กับการขาดโอกาสเช่นนั้นต่อไป

แสดงความคิดเห็น

No comments found.

New comment



site statistics