สุวิทย์หวั่นเสียงโหวตไทยเป็นรองในกก.มรดกโลก

28/07/2010 16:42

“สุวิทย์”กังวลเสียงโหวตไทยเป็นรองในการประชุมกรรมการมรดกโลก ปณิธานเผยหากมีการยอมรับแผนจัดการของกัมพูชา รัฐบาลจะใช้มาตรการรักษาสิทธิดินแดนตอบโต้ 

นายปณิธาน วัฒนายากร  รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า นายสุวิทย์  ได้โทรหาเมื่อเวลา 02.00 น. แสดงความกังวลว่ากรรมการมรดกโลกหลายประเทศจะเดินหน้าต่อ  แต่หวังว่ามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่คัดค้านแผนจัดการพื้นที่เขาพระวิหารของกัมพูชา ซึ่งได้มีการมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกจะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น

สุวิทย์

"ยืนยันว่าเราจะประท้วงในทุกเรื่องที่เราไม่เห็นด้วย แม้เสียงในตอนนี้เราอาจจะไม่ได้เปรียบมากนัก เพราะประเทศมหาอำนาจส่วนใหญ่ค่อนข้างเอนเอียงไปทางกัมพูชา  เพราะเขาอยากมาพัฒนาพื้นที่มรดกโลก เพราะประเทศเหล่านี้เคยไปก่อสงครามทำลายมรดกโลกในประเทศต่างๆไว้เยอะ  ตอนนี้เลยอยากเข้ามาฟื้นฟู ทั้งนี้คณะกรรมการมรดกโลกมีสมาชิกจำนวน 21 ประเทศ โดยการตัดสินจะใช้คะแนน 2 ใน 3"นายปณิธานกล่าว  

ทั้งนี้ ที่ประชุมครม. ต้องการ ให้นายสุวิทย์ พูดให้ชัดเจนต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกให้ทราบว่าผลจากการขึ้นทะเบียน ปราสาทเขาพระวิหาร ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศอย่างรุนแรงจนมีคนตายทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวเคยมีแบบเรื่องนี้มาก่อน 

"ต้องทำให้เขาเห็นว่าผลของการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทำให้มีคนตาย ซึ่งไม่ใช่แนวทางสันติภาพตามเจตนารมย์ของยูเนสโก    ดังนั้น ทางการไทยจึงอยากให้มีการเลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน และให้มีการเดินหน้าตามกรอบเอ็มโอยู 2543  ในเรื่องการปักปันเขตแดนต่างๆซึ่งเป็นเรื่องของสองประเทศที่จะต้องทำร่วม กัน  ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องใช้เวลา"นายปณิธาน กล่าว

เมื่อถามว่ามีมาตรการหลังจากการถอนตัวจากภาคีมรดกโลกหรือไม่   นายปณิธาน กล่าวว่า    ทางการไทยคงจะมีมาตรการในการรักษาสิทธิที่เป็นมาตรการจากเบาไปหาหนัก เช่น การประท้วง  การเรียกทูตเข้ามาพบ  การทำเครื่องหมายรักษาสิทธิโดยการปักธงในพื้นที่   การคงกองกำลังทหารไว้  และการบริหารจัดการคนที่เข้ามารุกล้ำพื้นที่ ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ แต่ยืนยันว่ารัฐบาจะไม่ใช้ความรุนแรงและจะไม่ใช่มาตรการที่แข็งกร้าว ก้าวร้าว และไม่รุกรานประเทศเพื่อนบ้าน

"เราเป็นประเทศที่ใหญ่กว่า หากใช้มาตรการแข็งกร้าวจะจะเข้าทางประเทศกัมพูชาทันที ที่จะนำประเด็นดังกล่าวไปร้องเรียนต่อนานาชาติให้เข้ามาแก้ปัญหาและนำไปสู่ การให้มีการตัดสินให้ชัดเจนว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นของใคร  ดังนั้นการดำเนินการต่างๆต้องมีความระมัดระวัง โดยต้องทำให้เป็นมาตรการที่ชัดเจนว่าเราไม่ยอมรับมติของคณะกรรมการมรดกโลก และเราจะไม่ร่วมมือการพัฒนากับกัมพูชา โดยรายละเอียดเรื่องมาตรการรักษาสิทธิ์สภาความมั่นคงแห่งชาติจะมีการประชุม เพื่อกำหนดรายละเอียดในเรื่องนี้ต่อไป"นายปณิธานกล่าว

คุณคิดอย่างไรกับประเด็นนี้ ?

No comments found.

New comment



site statistics